วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ruoter protocal

วันเสาร์, สิงหาคม 8, 2009

บริดจ์ (Bridge) เราเตอร์ (Router) และสวิตช์ (Switch)
เมื่อต้องการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ หลาย เครือข่ายเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ประกอบที่ทำให้การรับส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เชื่อมโยงถึง โดยทั่วไปเรามักใช้ระบบ
การรับส่งข้อมูลเป็นชุดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "แพ็กเก็ต" (Packet) ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต สามารถเคลื่อนที่จากต้นทางไปยังปลายทางได้ โดยผ่านอุปกรณ์เลือกเส้นทาง การเลือกเส้นทางสามารถเลือกผ่านทั้งทางด้านเครือข่าย LAN และ WAN

โดยปกติมีการกำหนดแอดเดรสของตัวรับและตัวส่ง ดังนั้น จึงต้องมีแอดเดรสปรากฎอยู่ในแพ็คเก็ต อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายทุกหน่วยจึงมีแอดเดรสกำกับแอดเดรสหรือตำแหน่งที่อยู่มีรูปแบบที่ชัดเจน ได้รับการกำหนดเป็นมาตรฐาน เช่น แอดเดรสที่ใช้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ใช้รหัสตัวเลข 32 บิต ที่เรียกว่า "ไอพีแอดเดรส" (IP Address) แพ็กเก็ตข้อมูลทุกแพ็กเก็ตจึงมีข้อมูลที่บ่งบอกว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาจากที่ใด และ ปลายทางอยู่ที่ใด การเลือกเส้นทาง..จึงขึ้นอยู่กับแอดเดรสที่กำหนดในแพ็กเก็ต เมื่อแพ็กเก็ตข้อมูลผ่านมายังอุปกรณ์ต่าง ๆ อุปกรณ์เหล่านั้นจะตรวจสอบดูว่า แอดเดรสต้นทางและ ปลายทางอยู่ที่ใด จะส่งผ่านแพ็กเก็ตนั้นไปยังเส้นทางใด เพื่อให้ถึงจุดหมายตามต้องการอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย และทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายมีหลายประเภทด้วยกัน อุปกรณ์แต่ละชนิดมีขีดความสามารถแตกต่างกันออกไป อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลักทั้ง LAN และ WAN ประกอบด้วย บริดจ์ (Bridge) เราเตอร์ (Router) และสวิตช์ (Switch)
บริดจ์ (Bridge)บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980

บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) ดังนั้น จึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่าย บริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูล ระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router)

เราเตอร์ (Router)เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทาง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทาง ที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อออกช่องทางของ Port WAN ที่เป็นแบบจุดไปจุด ก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่าย WAN ได้ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมากทำให้การใช้งานเราเตอร์มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมอุปกรณ์เราเตอร์หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเตอร์สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการหาเส้นทางเดินที่สั้นที่สุด เลือกตามความเหมาะสมและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเองได้เมื่อเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการทำงานได้เร็วขึ้น จึงมีผู้พัฒนาอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ต หรือเรียกว่า "สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล" (Data Switched Packet) โดยลดระยะเวลาการตรวจสอบแอดเดรสลงไป การคัดแยกจะกระทำในระดับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เชิงความเร็วและความแม่นยำสูงสุด อุปกรณ์สวิตช์ข้อมูลจึงมีเวลาหน่วงภายในตัวสวิตช์ต่ำมาก จึงสามารถนำมาประยุกต์กับงานที่ต้องการเวลาจริง เช่น การส่งสัญญาณเสียง วิดีโอ ได้ดีสวิตช์ (Switch)อุปกรณ์สวิตช์มีหลายแบบ หากแบ่งกลุ่มข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเล็ก ๆ และเรียกใหม่ว่า "เซล" (Cell) กลายเป็น "เซลสวิตช์" (Cell Switch) หรือที่รู้จักกันในนาม "เอทีเอ็ม

สวิตช์" (ATM Switch) ถ้าสวิตช์ข้อมูลในระดับเฟรมของอีเทอร์เน็ต ก็เรียกว่า "อีเทอร์เน็ตสวิตช์" (Ethernet Switch) และถ้าสวิตช์ตามมาตรฐานเฟรมข้อมูลที่เป็นกลาง และ สามารถนำข้อมูลอื่นมาประกอบภายในได้ก็เรียกว่า "เฟรมรีเลย์" (Frame Relay)อุปกรณ์สวิตชิ่งจึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้ใช้กับความเร็วของการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก เช่น เฟรมรีเลย์ (Frame Relay) และเอทีเอ็ม สวิตช์ (ATM Switch) สามารถสวิตช์ข้อมูลขนาดหลายร้อยล้านบิตต่อวินาทีได้ เทคโนโลยีนี้จึงเป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมการออกแบบและจัดรูปแบบเครือข่ายองค์กรที่เป็น "อินทราเน็ต" ซึ่งเชื่อมโยงได้ทั้งระบบ LAN และ WAN จึงต้องอาศัยอุปกรณ์เชื่อมโยงต่าง ๆ เหล่านี้ อุปกรณ์เชื่อมโยง ทั้งหมดนี้รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จากเครือข่ายพื้นฐานเป็นอีเทอร์เน็ต ก็สามารถเชื่อมเข้าสู่ ATM Switch, Frame Relay, or Bridge, Router ได้ ทำให้ขนาดของเครือข่ายมีขนาดใหญ่ขึ้น
วันเสาร์, สิงหาคม 8, 2009

เกตเวย์ (Gateway)

เกตเวย์เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น

การคอนฟิกเราเตอร์ Cisco ขั้นพื้นฐาน
การเชื่อมต่อแบบ Point to Point โดยมีจำนวน Site เป็น 2 sites ทำ Routing เป็นแบบ Static และ encapsulation เป็น pppสมมุติว่าเรามีจำนวน site เป็น 2 site และมีการเชื่อมต่อดังรูปที่ 1 โดยกำหนดค่า ip เป็นดังนี้

-Wan IP : เป็น 192.168.0.0/30 นั่นคือจะมี ip ในกลุ่มนี้ทั้งหมดเป็น 4 ip คือ 192.168.0.0 - 192.168.0.3 แต่ไอพี 192.168.0.0 เป็น network ip และ ไอพี 192.168.0.3 เป็น broadcast ip ซึ่งนำมาใช้งานปกติไม่ได้ จึงเหลือไอพีที่ใช้งานทั่วไปได้ 2 ip คือ 192.168.0.1 ซึ่งกำหนดให้เป็นไอพีของ serial port (s0) ของ router A และอีกไอพีคือ 192.168.0.2 ซึ่งกำหนดให้เป็นไอพีของ serial port (s0) ของ router B ดังรูปที่ 1-Lan IP ด้าน A : ในที่นี้กำหนดเป็น 192.168.11.0/24 นั่นคือจะมีไอพีใช้งานเป็นหนึ่ง class c คือ 254 ip (ไม่นับ network ip และ broadcast ip) คือ 192.168.11.1 - 192.168.11.254 โดยในที่นี้กำหนดให้ไอพี 192.168.11.1 เป็นไอพีของ ethernet port (e0) ของ router A และไอพีสำหรับเครื่องพีซีกำหนดให้ใช้ตั้งแต่ 192.168.11.11 เป็นต้นไป ดังรูปที่ 1-Lan IP ด้าน B : ในที่นี้กำหนดเป็น 192.168.12.0/24 นั่นคือจะมีไอพีใช้งานเป็นหนึ่ง class c เช่นกัน คือ 254 ip (ไม่นับ network ip และ broadcast ip) คือ 192.168.12.1 - 192.168.12.254 โดยในที่นี้กำหนดให้ไอพี 192.168.12.1 เป็นไอพีของ ethernet port (e0) ของ router B และไอพีสำหรับเครื่องพีซีกำหนดให้ใช้ตั้งแต่ 192.168.12.11 เป็นต้นไป


การใช้คำสั่งเพื่อเชื่อมต่อ Router

คำสั่งaccess-enable เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราวclear เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราวconnect ใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminaldisable ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged modedisconnect ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ networkenable เข้าสู่ privileged Exec modeexit ออกจากการใช้ User Exec modehelp ใช้เพื่อแสดงรายการ helplat เปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)lock ใช้เพื่อ lock terminalloginlogin เข้ามาเป็น userlogout exit ออกจาก EXECmrinfo ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่งmstat แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้วmtrace ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทางname-connection เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่pad เปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PADPing ใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อppp ใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPPresume ใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้งrlogin เปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกลshow แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบันslip เริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)systat เป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบtelnet เป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnetterminal เป็นการจัด Parameter ของ Terminal Linetraceroute เป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทางtunnel เปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnelwhere แสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน

การคอนฟิกเราเตอร์ Cisco ขั้นพื้นฐาน

กรณีที่ 1 การเชื่อมต่อแบบ Point to Point โดยมีจำนวน Site เป็น 2 sites ทำ Routing เป็นแบบ Static และ encapsulation เป็น pppสมมุติว่าเรามีจำนวน site เป็น 2 site และมีการเชื่อมต่อดังรูปที่ 1 โดยกำหนดค่า ip เป็นดังนี้-Wan IP : เป็น 192.168.0.0/30 นั่นคือจะมี ip ในกลุ่มนี้ทั้งหมดเป็น 4 ip คือ 192.168.0.0 - 192.168.0.3 แต่ไอพี 192.168.0.0 เป็น network ip และ ไอ พี 192.168.0.3 เป็น broadcast ip ซึ่งนำมาใช้งานปกติไม่ได้ จึงเหลือไอพีที่ใช้งานทั่วไปได้ 2 ip คือ 192.168.0.1 ซึ่งกำหนดให้เป็นไอพีของ serial port (s0) ของ router A และอีกไอพีคือ 192.168.0.2 ซึ่งกำหนดให้เป็นไอพีของ serial port (s0) ของ router B-Lan IP ด้าน A : ในที่นี้กำหนดเป็น 192.168.11.0/24 นั่นคือจะมีไอพีใช้งานเป็นหนึ่ง class c คือ 254 ip (ไม่นับ network ip และ broadcast ip) คือ 192.168.11.1 - 192.168.11.254 โดยในที่นี้กำหนดให้ไอพี 192.168.11.1 เป็นไอพีของ ethernet port (e0) ของ router A และไอพีสำหรับเครื่องพีซีกำหนดให้ใช้ตั้งแต่ 192.168.11.11 เป็นต้นไป-Lan IP ด้าน B : ในที่นี้กำหนดเป็น 192.168.12.0/24 นั่นคือจะมีไอพีใช้งานเป็นหนึ่ง class c เช่นกัน คือ 254 ip (ไม่นับ network ip และ broadcast ip) คือ 192.168.12.1 - 192.168.12.254 โดยในที่นี้กำหนดให้ไอพี 192.168.12.1 เป็น ไอพีของ ethernet port (e0) ของ router B และไอพีสำหรับเครื่องพีซีกำหนดให้ใช้ตั้งแต่ 192.168.12.11 เป็นต้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น