วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ระบบสื่อสารข้อมูล 4123702

คำอธิบายรายวิ ชา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสื่อสารข้อมูล การทำงานของระบบการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ระบบสื่อสาร อุปกรณ์ที่ใช้ระบบสื่อสาร ระบบการส่งข้อมูลแบบทางเดียว แบบสองทางไม่พร้อมกัน และแบบสองทางพร้อมกัน ชนิดของการส่งข้อมูล Analog และ Digital สถาปัตยกรรม network protocol ,ระบบเครือข่าย ,WAN, LAN และ Distributed

จุดประสงค์ :
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับระบบการสื่อสารข้อมูล2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูล3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารได้

บทความเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัตการ Dos
ระบบปฏิบัติการ DOS
ระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นส่วนจำเป็นในการทำงานของไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เรารู้จักกันดีว่า DOS (Disk Operating System) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งพัฒนามาจากบริษัทไมโครซอฟต์ คอร์ปอเรชัน ที่เรียกกันว่า MS-DOS
MS-DOS ประกอบด้วยไฟล์ต่างๆ จำนวนมากที่ทำงานประสานกันเรา
จัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.ประเภทไฟล์โปรแกรม
2.ประเภทไฟล์ข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์จะมีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เรียกว่า แฟ้ม (File)ไฟล์ หรือ File คือกลุ่มของข้อมูล(Data)ที่เป็นทั้งตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ รูปซึ่งแต่ละไฟล์จะมีขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณหรือชนิดของข้อมูล

การตั้งชื่อแฟ้ม
1.ชื่อแฟ้มมีความยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร
2.ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ A-Z หรือ a-z หรือ เลขอาราบิค 0-9
3.ห้ามมีช่องว่างหรือสัญลักษณ์ , \ ? * เป็นส่วนหนึ่งของแฟ้ม
4.ห้ามตั้งชื่อซ้ำกันกับชื่อแฟ้มในสาระบบเดียวกัน
5.ให้มีส่วนขยายของแฟ้ม ยาวไม่เกิน 3 ตัวอักษร

ประเภทของแฟ้มข้อมูล
1. .COM (command file) เป็นแฟ้มที่โปรแกรมภาษาเครื่องที่ผู้ใช้สามารถสั่งทำงานได้
2. .exe (execute) เป็นแฟ้มที่โปรแกรมภาษาเครื่องที่ผู้ใช้สามารถสั่งทำงานได้ที่ Dos Prompt โดยการอ้างอิงหน่วยความจำจาก .com
3. .bat (batch file) เป็นแฟ้มที่ใช้รวบรวมคำสั่งของ Dos สามารถสั่งให้ทำงานได้ทันทีที่ Dos Prompt ตามลำดับขั้น
4. .sys (system file) เป็นไฟล์ระบบที่ใช้เก็บตัวเลือกเพื่อปรับปรุงระบบ การทำงานของซอฟต์แวร์
5. .bak (backup file) เป็นแฟ้มสำรองโปรแกรม
6. .dat (data file ) หรือ . txt (taxt file) เป็นแฟ้มสำหรับจัดเก็บข้อมูล

การใช้อักขระตัวแทน
อักขระตัวแทน (Wildcard character ) หมายถึง สัญลักษณ์ที่ใช้แทน กลุ่มของแฟ้มที่มีส่วนของชื่อหรือส่วนขยายคล้ายกัน เพื่อให้กลุ่มแฟ้มเหล่านั้น ถูกดำเนินการภายใต้การทำงานเดียวกันพร้อมๆกัน ซึ่งมี 2 สัญลักษณ์
1.สัญลักษณ์ * แทน ตัวอักษร ตัวเลข หรือ สัญลักษณ์ใดๆ ในชื่อแฟ้ม หรือ ส่วนขยาย 1 ตัวขึ้นไป เช่น*.exe หมายถึง กลุ่มแฟ้มอะไรก็ได้ที่มีส่วน ขยายเป็น .exe
2.สัญลักษณ์ ? แทน ตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใดๆ ในชื่อแฟ้มหรือส่วนขยาย 1 ตัว ที่เครื่องหมาย ? ปรากฎอยู่ เช่น W??.docหมายถึง ชื่อแฟ้ม ที่ขึ้นต้นด้วย W แล้วตามด้วยตัวอักษรใดก็ได้ 2 ตัว และมีส่วนขยายเป็น doc

หลักการจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์
ระบบสาระบบ
ในระบบคอมพิวเตอร์ มีแฟ้มจัดเก็บเอกสารอยู่จำนวนมาก อาจมีความ ยากลำบากเสียเวลาในการค้นหา ดังนั้นจึงจัดระบบสาระบบขึ้น เรียกว่า dircetory system เป็นการรวมและแยกไฟล์ต่างๆออกจากกันเป็นกลุ่มๆ เป็น ระบบ ระเบียบ นอกจากนี้ยังมี สาระบบย่อย เรียกว่า Subdircetory ในการตั้งชื่อ สาระบบ ใช้หลักการตั้งชื่อแฟ้ม และไม่ซ้ำกับชื่อที่มีอยู่ในลำดับ ชั้นเดียวกัน สาระบบหลักที่ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับสร้างสาระบบอื่น เรียกว่า Root dircetory ใช้สัญลักษณ์ \ (backslash) แทน

สาระสำคัญ
ระบบคอมพิวเตอร์ คือองค์ประกอบหลัก ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าขาดองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้ ระบบของคอมพิวเตอร์นี้ประกอบไปด้วย องค์ประกอบหลักที่สำคัญ 3 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และพีเพิลแวร์ ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ ที่มีวงจรไฟฟ้าอยู่ภายใน ส่วนซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่ใช้ในการสั่งและควบคุมให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน ขบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์ เริ่มจากป้อนข้อมูลเข้าหน่วยป้อนข้อมูล ผ่านการประมวลผลจากซีพียู และส่งผลลัพธ์ออกหน่วยแสดงผล

ระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึงเครื่องจักรกลทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวก ในด้านต่าง ๆ เช่น การคำนวณ การออกแบบ การเก็บข้อมูล โดยมนุษย์สามารถเขียนโปรแกรมหรือคำสั่ง สั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนด และประมวลผลออกมาตามที่ต้องการได้
ระบบคอมพิวเตอร์ คือองค์ประกอบหลัก ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงาน ได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าขาดองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้ ระบบของคอมพิวเตอร์นี้ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คืออุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีวงจรไฟฟ้า อยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ สามารถจับต้องได้ เช่น กล่องซีพียู (Case) จอภาพ (Monitor) แป้นพิมพ์ (Keyboard) สแกนเนอร์(Scanner) เมนบอร์ด (Mainboard) ฮาร์ดดิสก์(Harddisk) เครื่องพิมพ์(Printer) เป็นต้น


ซอฟต์แวร์ (Software) คือโปรแกรม หรือชุดคำสั่ง ที่สั่งควบคุมให้ฮาร์ดแวร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซอฟต์แวร์จะถูกบรรจุอยู่ในสื่อ หรือวัสุดที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ฟอบปี้ดิสก์ , ฮาร์ดดิสก์ , ซีดีรอม , เทปไดร์ฟ และ ดีวีดีรอม เป็นต้น



พีเพิลแวร์ (Peopleware) คือ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นนักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ผู้เขียน โปรแกรม (Programmer) ผู้ใช้โปรแกรม (User) โดยสรุปก็คือ บุคคลใดก็ตาม ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องคอมพิวเตอร์ จะถือว่าเป็นพีเพิลแวร์ทั้งสิ้น


ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์และชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ ที่มีวงจรไฟฟ้าอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ และสามารถจับต้องได้ ตัวอย่างเช่น ซีพียู เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ ลำโพง แผงเมนบอร์ดฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม เป็นต้น

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูงตามไปด้วย ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่นต้องการนำไปใช้งานกราฟิกส์ ที่มีการประมวลผลมาก จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็เพียงพอแล้ว

หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit)
หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ แป้นพิมพ์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป


หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ(Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น


หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา ส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้ จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หน่วยความจำชั่วคราว ถือว่าเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM , RDRAM เป็นต้น


หน่วยความจำสำรอง (Storage Unit)
หน่วยความจำสำรองคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่มีนิยมใช้กันทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ เป็นต้น


แผงวงจรหลัก (Mainboard)
แผงวงจรหลัก หรือนิยมเรียกว่าแผงเมนบอร์ด คือแผงวงจร ที่ติดตั้งภายในเคสของคอมพิวเตอร์ แผงเมนบอร์ดเป็นที่ติดตั้งอุปกร์คอมพิวเตอร ์และอิเล็กทรอนิกส์ให้เชื่อมต่อถึงกัน เป็นที่ติดตั้งซีพียู หน่วยความจำรอม หน่วยความจำแรม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ และพอร์ตเชื่อมต่อออกไปภายนอก แผงวงจรนี้เป็นแผงวงจรหลัก ที่เชื่อมโยงไปยังหน่วยป้อนข้อมูล และหน่วยแสดงผล

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้ ซอฟต์แวร์ เป็นศัพท์ที่มีความหมายกว้างขวางมาก บางครั้งอาจรวมถึง ผลลัพธ์ต่างๆ เช่น ผลการพิมพ์ที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ เอกสารการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนคู่มือการใช้ ในการสั่งงานใดๆ

ระบบปฏิบัติการ Window 98

•การติดต่อกับผู้ใช้แบบใหม่ เรียกว่า Active Dasktop หรือการใช้ IE 4.0
•พื้นที่ในฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้น วินโดวส์ 98 มีความสามารถที่เรียกว่า FAT 32 ซึ่งเป็นระบบจัดการกับไฟล์ในฮาร์ดดิสก์แบบใหม่ที่เหนือกว่าแบบ FAT 16 โดยมีขนาดของคลัสเตอร์ที่เล็กกว่า เพียง 4 กิโลไบต์ทำให้กินพื้นที่น้อยกว่า


•สนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ เช่น Device Bay, ATM (Asynchronous Transfer Mode), ระบบ Wake on LAN, USB Port, WebTV, Distributed Component Object Model (DCOM), Microsoft Active Accessibility เป็นต้น
•ติดตั้งโปรแกรมระบบรักษาความปลอดภัย และระบบอัพเดตข้อมูล Year 2000 update, Dial-up Networking 1.3

•เพิ่มพื้นที่การแสดงผลบนเดสก์ทอปมากขึ้น วินโดวส์98 สามารถแสดงผลได้สูงสุดถึง 8 อันพร้อมกัน
•ระบบรักษาความปลอดภัย การเข้าสู่เน็ตเวิร์กของวินโดวส์ 98 ยังอ่อนมาก ไม่ควรที่จะแคชข้อมูลรหัสผ่านที่สำคัญไว้บนวินโดวส์ 95 หรือ วินโดวส์ 98 เป็นอันขาด เพราะมีโปรแกรมบางตัวบนอินเตอร์เน็ตที่สามารถถอดรหัสผ่านของวินโดวส์ 98 ได้โดยง่าย
ระบบปฏิบัติการ Window 2000

•windows 2000 Professional ระบบปฏิบัติการที่เชื่อถือได้รับเครื่องเดสก์ท็อปและแลปท็อปในธุรกิจ
•windows 2000 Server ระบบปฏิบัติการเครือข่ายเอนกประสงค์สำหรับธุรกิจทุกขนาด
•windows 2000 Advanced Server ระบบปฏิบัติการสำหรับ e-commerce และแอพพลิเคชันเฉพาะทางธุรกิจ
•windows 2000 Datacenter Server ระบบปฏิบัติการ เซิร์ฟเวอร์ระดับสูง


•สนับสนุนภาษามากกว่า 60 ภาษา
•เมนูที่ส่วนตัวของผู้ใช้
•ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับเว็บ
•สุดยอดสำหรับโน้ตบุ๊ค
•ระบบการจัดการพลังงาน
•Plug and Play ที่สมบูรณ์แบบ
•NTFS Version 5 (NT File System)

ความต้องการด้าน hardware


•CPU ที่คอมแพทิเบิลกับ Pentium ทำงานที่ความถี่ 113 MHz หรือสูงกว่า
•หน่วยความจำ RAM ไม่น้อยกว่า 64 MB (หากมีหน่วยความจำมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานจะดีขึ้น
•ฮาร์ดดิสก์ความจุ 2 GB ที่มีเนื้อที่ว่างอย่างน้อย 650 MB
•ไดร์ฟ CD-ROM หรือ DVD
•จอภาพแบบ VGA หรือที่มีความละเอียดสูงกว่า



ระบบปฏิบัติการ Window XP

•ความเร็วของซีพียูขั้นต่ำอยู่ที่ 233 megahertz Pentium หรือสูงกว่า
•หน่วยความจำขั้นต่ำ 64 megabytes เป็นอย่างน้อย แต่ถ้าให้ดีแล้วนั้น Windows XP นั้นต้องความเร็วอยู่ที่ 128 megabytes
•พื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ต้องมีความจุอยู่ที่ 650 MB เป็นอย่างน้อย แต่ว่าการใช้พื้นที่จะมากกว่า Windows 98 และ Windows ME อยู่เป็นเท่าตัว


•การ์ดแสดงผล (VGA monitor) ต้องการการ์ดแสดงผลที่มีความละเอียดอยู่พอสมควร เพราะภาพแต่ละภาพนั้นค่อนข้างจะต้องการทั้งการ์ดที่เป็น GPU (Graphic Processor Unit)
•Windows XP นั้นมีความสามารถรองรับความสามารถทางด้าน USB
•แฟกซ์โมเด็ม ความเร็วขั้นต่ำ 28.8 กิโลบิตต่อวินาทีหรือเป็นความเร็วที่สูงกว่าก็ได้ เพื่อเชื่อมต่อกับ Internet

มีอะไรใหม่ ใน Windows XP

•ยูสเซอร์อินเทอร์เฟส เดสก์ทอปที่ดูสะอาดตาและลดความซับซ้อนลง , เมนู Start ที่ใช้งานง่ายขึ้น
•คุณสมบัติ CD creation ยูทิลิตี้ ,Windows Media Player เวอร์ชันใหม่ , สนับสนุน 802.11 b wireless LAN , แอพพลิเคชัน สำหรับติดต่อวิดีโอ , รองรับการใช้งานกับกล้องดิจิตอล สำหรับ Pro Edition จะเพิ่มคุณสมบัติในการทำ Remote Access , สนับสนุน dual-processor และ Multi-monitor , คุณสมบัติ การเข้ารหัสไฟล์และการจัดการ access control



•ความปลอดภัย อินเตอร์เน็ตไฟร์วอลล์ , คุกกี้เมเนเจอร์ , WEB สำหรับ wireless LAN
•ประสิทธิภาพ แครชน้อยลง , บู๊ตเร็วขึ้น , ลดเวลาการเรียกใช้แอพพลิเคชันและ resum time , จัดวางตำแหน่งที่เหมาะสมให้กับแต่ละแอพพลิเคชัน
•Compatility ใช้งานได้กับ 50 ผลิตภัณฑ์ , รองรับการทำงานร่วมกับแอพพลิเคชัน ที่สร้างขึ้นในช่วงสามปีที่ผ่านมา สนับสนุนไดร์ฟเวอร์ของฮาร์ดแวร์กว่า 1,000 ชนิด (จากทั้งหมด 12,000 ชนิด)



ระบบปฏิบัติการ Linux

ลีนุกซ์คืออะไร
ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณ มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เนต เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน

ประวัติของลีนุกซ์
ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ลีนุส เห็นว่าระบบมินิกซ์ (Minix) ที่เป็นระบบยูนิกซ์บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งทำการพัฒนาโดย ศ.แอนดรูว์ ทาเนนบาวม์ (Andrew S. Tanenbaum) ยังมีความสามารถไม่เพียงพอแก่ความต้องการ จึงได้เริ่มต้นทำการพัฒนาระบบยูนิกซ์ของตนเองขึ้นมา โดยจุดประสงค์อีกประการ คือต้องการทำความเข้าใจในวิชาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วยเมื่อเขาเริ่มพัฒนาลีนุกซ์ไปช่วงหนึ่งแล้ว เขาก็ได้ทำการชักชวนให้นักพัฒนาโปรแกรมอื่นๆมาช่วยทำการพัฒนาลีนุกซ์ ซึ่งความร่วมมือส่วนใหญ่ก็จะเป็นความร่วมมือผ่านทางอินเทอร์เนต ลีนุสจะเป็นคนรวบรวมโปรแกรมที่ผู้พัฒนาต่างๆได้ร่วมกันทำการพัฒนาขึ้นมาและแจกจ่ายให้ทดลองใช้เพื่อทดสอบหาข้อบกพร่อง ที่น่าสนใจก็คืองานต่างๆเหล่านี้ผู้คนทั้งหมดต่างก็ทำงานโดยไม่คิดค่าตอบแทน และทำงานผ่านอินเทอร์เนตทั้งหมด ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดของระบบลีนุกซ์ที่ได้ประกาศออกมาคือเวอร์ชัน 2.0.13 ข้อสังเกตในเรื่องเลขรหัสเวอร์ชันนี้ก็คือ ถ้ารหัสเวอร์ชันหลังทศนิยมตัวแรกเป็นเลขคู่เช่น 1.0.x,1.2.x เวอร์ชันเหล่านี้จะถือว่าเป็นเวอร์ชันที่เสถียรแล้วและมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเลขคี่เช่น 1.1.x, 1.3.x จะถือว่าเป็นเวอร์ชันทดสอบ ซึ่งในเวอร์ชันเหล่านี้จะมีการเพิ่มเติมความสามารถใหม่ๆลงไป และยังต้องทำการทดสอบหาข้อผิดพลาดต่างๆอยู่
if (getQueryVariable("img") == 'yes') {
document.write('');
}else{
document.write('[img]http://www.win.tue.nl/~aeb/linux/lk/tux.jpg + torvalds.jpg>[/img]');
}

ทำไมถึงต้องเป็นลีนุกซ์ ข้อความบางส่วนจากหนังสือ "Running Linux" ของ Matt Welsh and Lar Kaufman เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่ฟรี คุณสามารถจะขอจากผู้ที่มีลีนุกซ์ หรือจะดาวน์โหลดจากอินเทอร์เนต หรือบีบีเอสได้โดยไม่ผิดกฏหมาย เนื่องจากมีผู้นิยมใช้มาก ทำให้มีผู้นำลีนุกซ์ไปแก้ไขให้สามารถใช้งานได้บนตัวประมวลผลกลางหลากหลายตั้งแต่อินเทล, โมโตโรลา, ดิจิตอลอัลฟา, พาวเวอร์พีซี, ไปจนถึง สปาร์คของซัน นอกจากนี้ยังมีผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ออกมากันมากมาย มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูง ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิตเต็มรูปแบบ ซึ่ง สามารถจะดึงเอาพลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ออกมาได้อย่างเต็มกำลัง ลีนุกซ์ถูกพัฒนา จากผู้พัฒนานับร้อยทั่วโลก แต่ Linus จะเป็นคนวางทิศทางในการพัฒนาด้วยตัวเอง มีคุณลักษณะของระบบ UNIX เต็มรูปแบบ และเป็นระบบหลากผู้ใช้ หลายงานอย่าง แท้จริง ลีนุกซ์มีระบบอินเทอร์เฟสแบบกราฟฟิคที่เรียกกันว่า X Windows ซึ่งเป็น มาตรฐานของระบบยูนิกซ์ทั่วๆไป และสามารถใช้ window manager ได้หลายชนิด ตามความต้องการ นอกจากนี้ยังสนับสนุนโปรโตคอลแบบ TCP/IP ,SLIP, PPP, UUCP และอื่นๆ คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ง่าย มีเอกสารหลากหลาย (กรุณาดูข้างล่าง) และผู้คนมากมายคอยสนับสนุนคุณผ่านอินเทอร์เนต หรือคุณอาจจะหาการสนับสนุนจากบริษัทที่ปรึกษา หรือจากบริษัทผู้จัดจำหน่ายระบบลีนุกซ์ก็ได้ มีเหตุผลหลายประการที่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมผู้คนถึงชอบลีนุกซ์ แต่โดยส่วนตัวแล้ว น่าจะเป็นเพราะการพัฒนาอย่างรวดเร็วของลีนุกซ์ เนื่องจากคุณสามารถเห็นการเปลี่ยน แปลงตัวเคอร์เนล และการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ใหม่ๆออกมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่เคยพบเห็นในระบบที่แจกจ่ายฟรีแบบนี้ที่ไหนมาก่อนเลย ผู้ใช้งานและแอพพลิเคชันบนลีนุกซ์ บรรดาผู้ใช้งานบนลีนุกซ์มีได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นระดับเคอร์นัลแฮกเกอร์ ซึ่งจะทำการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบปฏิบัติการในระดับลึก ไปจนถึงเอนด์ยูเซอร์หรือผู้ใช้ทั่วไป คุณสามารถใช้ลีนุกซ์ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเอาไว้ทำการศึกษาระบบยูนิกซ์ หรือคุณสามารถจะศึกษาตัวอย่างการเขียนรหัสโปรแกรมที่ดีได้ หากต้องการจะใช้แอพพลิเคชันบนดอส หรือบนวินโดว์ส ลีนุกซ์ก็จะมีดอสอีมูเลเตอร์ (DOSEMU) และวินโดว์สอีมูเลเตอร์ (WINE) ให้ สำหรับอีมูเลเตอร์ทั้งสองตัวนี้ยังอยู่ในขั้นทดสอบ และยังรันแอพพลิเคชันของดอสกับวินโดว์สได้ไม่มาก แต่ทีมพัฒนาโปรแกรมทั้งสองนี้ก็ยังทำการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ และตั้งเป้าหมายว่าจะต้องรันแอพพลิเคชันของดอสกับวินโดวส์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ล่าสุดทางบริษัท Caldera ได้ทำการซื้อลิขสิทธ์ WABI 2.2 ซึ่งเป็นอีมูเลเตอร์สำหรับรันแอพพลิเคชันของวินโดว์ส ที่ใช้ในเวอร์กสเตชันของซันมาใส่ในผลิตภัณฑ์ OpenLinux ของตน
จุดเด่นของ LINUX 1. เป็นระบบที่ใช้ได้ฟรี 2. เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด 3. คอมแพติเบิลกับ Unix 4. ทำงานได้บน PC ทั่วไป 5. ทำงานร่วมกับ DOS และ Windows ได้ 6. ใช้แฟ้มร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นได้ 7. มีความสามารถด้าน network หลายรูปแบบ 8. มีประสิทธิภาพสูงในการใช้ Hardware 9. Kernel มีประสิทธิภาพสูง 10. มีการใช้ Dynamic linked shared libraries 11. การช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา
ระบบปฏิบัติการ Unix
คำนำระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อเกือบ 30 ปีมาแล้ว ซึ่งรูปแบบของระบบไฟล์ ตลอดจน ระบบคำสั่งของยูนิกซ์ก็ได้เป็นต้นแบบให้ บิล เกตส์ เขียนระบบปฏิบัติการดอส(DOS) ขึ้นมา ในสมัยนั้นเป็นยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ซึ่งผู้ครองตลาดในเวลานั้นก็คือ IBM ซึ่งมีระบบปฏิบัติการที่ยุ่งยาก ซับซ้อนมาก ชื่อว่า VM/CMS (ระบบปฏิบัติการนี้ปัจจุบันยังมีการใช้งานกันอยู่ โดยเฉพาะในสถาบันการเงิน ส่วนในสถาบันศึกษาก็มีที่จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ที่อื่นๆ เขาเลิกใช้กันหมดแล้ว) ทำหน้าที่ควบคุมระบบทุกอย่าง ตั้งแต่จอเทอร์มินัล ระบบสำรองข้อมูล เครื่องพิมพ์ การประมวลผล โดยผู้ควบคุมระบบ (System Administrator) สามารถเฝ้าดูการใช้งานอย่างใกล้ชิด ในสมัยนั้นผู้ใช้ต้องไปนั่งหน้าจอเทอร์มินัล ป้อนคำสั่งต่างๆ หรือ พิมพ์โปรแกรมโดยการทำให้เสร็จเป็นหน้าๆ แล้วจึงส่งทุกอย่างที่เก็บไว้ ในบัฟเฟอร์ของจอเทอร์มินัลทั้งหมด ไปประมวลผลบนเครื่องเมนเฟรม เมื่องานที่หน้าจอเทอร์มินัลเริ่มจะซับซ้อนมากขึ้น เทอร์มินัลก็เริ่มจะพัฒนาขึ้น มีหน่วยประมวลผลเล็กๆ เป็นของตัวเอง (microprocessor) มีหน่วยความจำมากขึ้น ตลอดจนมีซอฟท์แวร์ควบคุมการทำงานของเทอร์มินัลเอง เทอร์มินัลแบบนี้มีชื่อเรียกว่าเวอร์คสเตชัน (workstation) ความหมายก็คือ เป็นสถานีงานเพื่อประมวลผลขั้นต้น ก่อนที่จะส่งงานมาที่เมนเฟรม ต่างจากเทอร์มินัลที่เป็น เพียงที่พักของข้อมูลเท่านั้น กาลต่อมาเมื่อเวอร์คสเตชัน ได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มีระบบแสดงผลแบบกราฟิกส์ มีความเร็วเพิ่มขึ้น เครื่องเวอร์คสเตชันเริ่มสามารถที่จะทำงานอิสระ ไม่ได้เป็นเพียง สถานีงานของเครื่องเมนเฟรมอีกต่อไป ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ก็ได้เกิดขึ้น เพื่อรองรับการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพของเครื่องเวอร์คสเตชัน นี้ แม้ว่าเครื่องเวอร์คสเตชัน จะมีจุดกำเนิดจากวงการเงินและการธนาคาร แต่กลับได้รับความสนใจ จากนักวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง จนในที่สุดก็ได้แยกตัวมาพัฒนาเอง เพื่อใช้สำหรับนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรโดยเฉพาะ จนบางครั้งได้รับการกล่าวขานถึงว่าเป็น scientific workstation อันหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากมีความสามารถในการประมวลผลที่เร็ว มีระบบแสดงผลกราฟิกส์ และที่สำคัญก็คือ มีระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่สามารถทำงานแบบมัลติยูเซอร์ และ interactive (ระบบ VM/CMS ไม่สามรถทำได้เพราะเป็น batch operating system) อาจกล่าวได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เวอร์คสเตชันในโลกนี้เกือบ 100 เปอร์เซนต์ ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ นอกจากนั้นยังรวมถึง เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์หลายชนิดเช่น CRAY และ Silicon Graphics เป็นต้น โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบยูนิกซ์นี้ได้รับการติดตั้ง ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ทั่วโลก จึงเป็นความจำเป็นที่นักศึกษาวิทยาศาสตร์จะต้องเรียนรู้ ระบบปฏิบัติการนี้ ทั้งนี้เพื่องานทางวิทยาศาสตร์บางประเภท ที่อาจต้องใช้ขีดความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ที่นอกเหนือจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และระบบปฏิบัติการแบบใช้คนเดียวอย่าง Windows 95 และ Windows NT
การเข้าสู่และออกจากระบบยูนิกซ์ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่ อนุญาตให้มีผู้ใช้พร้อมๆ กันได้หลายคน จึงต้องมีวิธีการป้องกันความเป็นส่วนตัว ของผู้ใช้แต่ละคน โดยผู้ใช้แต่ละคนจะมีพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ ส่วนตัวไว้ใช้งาน ซึ่งพื้นที่นี้ถูกเรียกว่าไดเรคทอรีบ้าน (home directory) ผู้ใช้มีสิทธิ์ทุกประการ ในการอ่านเขียนบนไดเรคทอรีบ้านของตนอย่างอิสระ ส่วนในไดเรคทอรีบ้านของคนอื่นนั้นอยู่ที่ผู้ใช้คนอื่นจะยินยอมหรือไม่ ผู้ใช้ทุกคนมีสิทธิใช้ทรัพยากรส่วนรวม (public resources) ซึ่งผู้บริหารระบบ (system administration) จะเป็นคนจัดการให้ใครมีสิทธิ์มากกว่าใคร การที่ผู้ใช้มีความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้จึงต้องมีรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้ระบบของตนเอง ยูนิกซ์มีวิธีการในการเข้าสู่ระบบที่เรียกว่าการล็อกอิน (logging in) โดยจะมีสิ่งที่เรียกว่า login prompt ให้เมื่อจะเข้าสู่ระบบ
login :
password :
ที่ login: เราจะต้องป้อนชื่อ account ของเรา จากนั้นป้อนรหัสผ่าน password ซึ่งจะมองไม่เห็น เมื่อเราล็อกอินเข้าสู่ระบบ เราจะไปอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า เปลือก (shell) ซึ่งมีไว้รองรับการทำงานของเรา เราจะไม่สามารถไปทำอะไรกับระบบปฏิบัติการได้โดยตรง ส่วนของระบบที่ทำหน้าที่ติดต่อกับฮาร์ดแวร์เพื่อทำงานเรียกว่า แก่น (kernel)
ข้อดีของการมีเปลือก เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง ทำให้ยูนิกซ์มีความเสถียรมาก และป้องกันการติดไวรัส เพราะเปลือกจะต้องติดต่อขออนุญาตจากแก่น ในการเข้าถึงฮาร์ดแวร์ หรือ ทรัพยากรร่วมอื่นๆ ไม่อาจทำอะไรตามอำเภอใจ ยูนิกซ์มีเปลือกให้เลือกหลายชนิด ที่นิยมกันก็มี Bourne Shell (sh) C Shell(csh และ tcsh) Korn Shell (ksh) สำหรับ account ของนักศึกษา ผมได้ตั้งค่าให้ใช้ tcsh นักศึกษาสามารถเปลี่ยนไปใช้เปลือกแบบอื่นได้ โดยใช้คำสั่ง chsh ถ้าไม่ชอบใจ
การทำงานของผู้ใช้บนเปลือกทำได้ 2 ประการคือ การใช้คำสั่งซึ่งเปลือกมีไว้ให้ใช้ กับการ run โปรแกรมอื่นๆ ซึ่งทุกครั้งที่ทำการ run โปรแกรม เปลือกจะเป็นผู้ประสานงานกับแก่น ในกรณีที่ต้องการใช้ฮาร์ดแวร์ โปรแกรมไม่สามารถทำอะไรกับฮาร์ดแวร์ตรงๆ ต่างจากระบบ DOS และ windows 95 ที่โปรแกรมสามารถเรียกใช้ฮาร์ดแวร์ได้ตรงๆ
ในขณะที่ล็อกอินอยู่ หากอยากดูว่ามีใครอยู่บนระบบพร้อมกับเราสามารถใช้คำสั่ง who หรือ w และ finger ซึ่งหากอยากรู้ข้อมูลของใครเป็นคนๆ ละก้อ สามารถใช้คำสั่ง finger user-account เช่น finger noy จะรู้ว่าผมเป็นใคร มาจากไหน การออกจากระบบ สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง exit หรือ Control D หรือ logout
ยูนิกซ์ป้องกันไวรัสได้อย่างไร ?
คุณสมบัติหนึ่งของไวรัสคือ มันสามารถที่จะแพร่กระจายได้รวดเร็ว เมื่อผู้ใช้โหลดโปรแกรมที่ติดไวรัสขึ้นมาใช้งาน บน DOS หรือ Windows นั้น ไวรัสจะเริ่มทำงาน โดยฝังตัวลงในหน่วยความจำ เนื่องจาก DOS และ Windows อนุญาตให้เรียกใช้ฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง เมื่อผู้ใช้เลิกทำงานแล้ว โปรแกรมก็จะถูกปลดจากหน่วยความจำ แต่ไวรัสยังคงฝังตัวอยู่ พอผู้ใช้คนอื่นมาเรียกโปรแกรม ซึ่งอาจเป็นโปรแกรมที่ไม่มีไวรัส ไวรัสก็จะเขียนตัวเองลงบนโปรแกรมใหม่นั้นทันที
เนื่องจากยูนิกซ์มีเปลือกเป็นผู้ประสานงาน ขอใช้หน่วยความจำของเครื่องต่อแก่น เมื่อผู้ใช้โหลดโปรแกรม แก่นก็จะจัดสรรที่ให้ใช้ โดยไม่อนุญาตให้ทำอะไรกับส่วนที่ไม่ได้รับมอบหมาย เมื่อโปรแกรมทำงานเสร็จสิ้น แก่นจะปลดโปรแกรมจากหน่วยความจำทันที ในกรณีที่ไม่สามารถปลดได้ ไวรัสก็ไม่อาจระบาดไปกับผู้ใช้คนอื่น เพราะผู้ใช้คนหนึ่งๆ ไม่มีสิทธิ์ไปเขียนทับไฟล์ หรือ ส่วนของหน่วยความจำที่ไม่ใช่ของตนได้ ทำให้ไวรัสไม่สามารถแพร่กระจายได้ คนจึงไม่สร้างไวรัสสำหรับยูนิกซ์ แต่ไปทำสำหรับ Windows ง่ายกว่ากันเยอะ
การไหลของข้อมูลบนยูนิกซ์ โปรแกรมใดๆ มีช่องให้ข้อมูลเข้าที่เรียกว่า ช่องรับข้อมูลมาตรฐาน (standard input) 1 ช่อง และช่องให้ข้อมูลออกที่เรียกว่า ช่องแสดงผลมาตรฐาน(standard output) 1 ช่อง ช่องรับข้อมูลมาตรฐานนี้โดยปรกติ (default) เป็น คีย์บอร์ด และช่องแสดงผลมาตรฐานเป็น เทอร์มินัล
ลองใช้คำสั่ง
cat
แล้วป้อนคำพูดอะไรก็ได้ลงไป กด Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ สังเกตผล (หากต้องการจบการใช้งานให้ใช้ Control D เพราะบนยูนิกซ์ Control D คือเครื่องหมายของการจบไฟล์) แต่ถ้าหากเราใช้คำสั่ง
cat > outfile
แทนที่เราจะได้การแสดงผลบน standard output เราจะได้การแสดงผลในไฟล์ที่ชื่อ outfile แทน วิธีการนี้เรียกว่า redirection เราสามารถทำ redirection ได้ทั้งกับ standard input และ standard output เช่น
cat <> outfile
จะอ่าน input จากไฟล์ชื่อ infile แทน standard input ซึ่งก็คือคีย์บอร์ด และแสดงผลในไฟล์ outfile แทนเทอร์มินัล เราสามารถทำให้ output ของโปรแกรมหนึ่งไปเป็น input ของอีกโปรแกรมหนึ่งด้วยการต่อท่อ (piping) เช่น คำสั่ง ls ใช้เพื่อลิสต์ไฟล์ในไดเรคทอรี คำสั่ง wc ใช้นับตัวอักษรที่ป้อนมาจาก standard input เราสามารถทำ redirection ให้ output ของคำสั่ง ls ไปเป็น input ของคำสั่ง wc โดยใช้ ls wc การทำเช่นนี้ทำให้เราสามารถรู้จำนวนไฟล์ทั้งหมด ในไดเรคตอรี
การต่อท่อมีประโยชน์มาก อีกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีไฟล์ในไดเรคทอรีเยอะมาก จนกระทั่งคำสั่ง ls -l ให้ผลออกมามากกว่า 1 หน้าจอ เราสามารถหยุดให้แสดงที่ละจอโดยต่อท่อไปยังโปรแกรม more โดย ls -l more ลองใช้คำสั่ง ls -l /bin ดูผลเทียบกับ ls -l /bin more แล้วจะเข้าใจ
คำสั่งต่างๆบนยูนิกซ์
ถ้านักศึกษาต้องการรู้วิธีใช้คำสั่งต่างๆของยูนิกซ์ ให้ใช้คำสั่ง man เช่นอยากทราบว่าคำสั่ง ls มิวิธีใช้อย่างไรให้พิมพ์ man ls ถ้าต้องการทราบว่ามีคำสั่งอะไรบ้างบนยูนิกซ์ ที่สามารถทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ให้ใช้คำสั่ง apropos เช่นอยากทราบว่ามีคำสั่งอะไรบนยูนิกซ์ ที่ทำงานเกี่ยวกับ mail ให้พิมพ์ apropos mail

ระบบปฏิบัตการ Window 2003

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 (Windows Server 2003) เป็นระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์จากไมโครซอฟท์ เป็นรุ่นที่ถัดจากวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ได้ออกวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งนับเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Windows Server System
วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่ออกมาหลังจากไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Trustworthy Computing จึงเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องความปลอดภัย โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เช่นหลังจากการตั้งแต่ติดตั้งเสร็จนั้น ไม่มีส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดการใช้งานเพื่อลดช่องทางโจมตีตั้งแต่แรกเริ่ม และได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน IIS 6.0 โดยเกือบเขียนขึ้นมาใหม่หมด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยประสิทธิภาพการทำงาน
ในปีพ.ศ. 2548 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ "ลองฮอร์น" ซึ่งจะเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 โดยมีกำหนดการที่จะออกครึ่งปีแรกใน พ.ศ. 2550
วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ได้แบ่งเป็นรุ่นดังนี้:
Windows Small Business Server 2003
Windows Server 2003 Web Edition
Windows Server 2003 Standard Edition
Windows Server 2003 Enterprise Edition
Windows Server 2003 Datacenter Edition
Windows Compute Cluster Server 2003




วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา
4121402
ชื่อวิชาภาษาไทย
ระบบปฏิบัติการ 2
ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ
Operating Systems 2
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาหน้าที่และการดำเนินงานของระบบปฏิบัติการ เกี่ยวกับจัดการหน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง การจัดแฟ้มข้อมูล หน่วยรับและแสดงผลข้อมูลในลักษณะของผู้ใช้คนเดียว งานเดียว และใช้หลายคนหลายงานพร้อมกัน รวมทั้งการสื่อสารระหว่างขบวนการ (Interprocess Communication : IPC)
หน่วยกิต
3(2-2)

แนะนำตัวเอง

นายพรสยาม ทำมา วิทยาการคอมพิวเตอร์ รหัสนักศึกษา 4922252103
Blog http://siam3333.bolgspot.com
e-mail siam_p123@thaimail.com
tel. 0878762978